แถลงการณ์ ระบุอีกว่า ความรักที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขา คือความรักที่มีต่อ ลอรีน ภรรยา และครอบครัวของเขา ดวงใจทุกดวงของพวกเราอุทิศเพื่อพวกเขา และทุกคนที่ได้รับการสัมผัสจากพรสวรรค์อันพิเศษของเขา
การเสียชีวิตของจ็อบส์มีขึ้นเพียงวันเดียว หลังจากแอปเปิลเปิดตัวสมาร์ทโฟนตัวใหม่ ไอโฟนโฟร์เอส ที่สำนักงานใหญ่ในคิวเปอทิโน่ ในช่วงท้ายของชีวิตที่เขาต้องต่อสู้กับโรคมะเร็ง เขาได้รามือจากการบริหารงานในบริษัท แต่ยังคงรั้งตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหาร
สตีฟ จ็อบส์ หรือชื่อจริงว่า สตีเฟ่น พอล " สตีฟ " จ็อบส์ เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ปี 1955เป็นบุตรบุญธรรมของนายพอล และนางคลาร่า จ็อบส์ ส่วนบิดาที่แท้จริงของเขาเป็นชาวซีเรียชื่อ อับดุลฟัตตะห์ จันดาลี เป็นนักศึกษา ก่อนจะทำงานเป็นอาจารย์สอนในคณะรัฐศาสตร์ มารดาเป็นนักศึกษาอเมริกัน ชื่อ โจแอนน์ ซิมป์สัน ที่ต่อมาทำงานเป็นวิทยากรด้านการบำบัดเขามีน้องสาวร่วมสายเลือดชื่อ โมนา ซิมป์สัน นักเขียนนวนิยาย
จ็อบส์จบการศึกษาจาก โฮมสตีดไฮสกูล ในเมืองคิวเปอร์ทิโน่ และสมัครเรียนต่อที่รีด คอลเลจ ในเมืองพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน แต่เรียนได้ภาคการศึกษาเดียวก็พักการเรียน หลายปีต่อมาเขาได้รับเชิญไปปาฐกถาในพิธีสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งเขาบอกว่า เพราะการที่เขาพักการเรียนที่รีด คอลเลจ ทำให้เขามีเวลาไปเข้าเรียนเกี่ยวกับตัวอักษร" ถ้าผมไม่ได้เรียนวิชานั้นที่วิทยาลัยรีด เครื่องแม็คอินทอชคงจะไม่มีรูปแบบอักษรหลากหลายและปราศจากฟอนต์ ที่มีการแบ่งระยะห่างอย่างถูก~เซ็นเซอร์~ส่วนเช่นนี้ "
ปี 1976 จ็อบส์ ในวัน 21 ปี กับสตีฟ วอซเนียก วัย 26 ปี ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ ขึ้น ภายในโรงรถของครอบครัวจ็อบส์ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่นำออกสู่สายตาชาวโลก คือ Apple I ตั้งราคาไว้ที่ 666.66 ดอลล่าร์ โดยเอามาจากหมายเลขโทรศัพท์เครื่องตอบรับเล่าเรื่องตลกขบขันของวอซเนียก ที่ลงท้ายด้วยหมายเลข -6666
ปี 1977 ทั้งคู่ก็ปล่อย Apple II ออกมา ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่เมื่อวางจำหน่ายApple III ในปีเดียวกัน กลับได้รับความสำเร็จน้อยกว่าเดิม
ปี 1984 ได้มีการเปิดตัว แม็คอินทอช เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรก ที่มีส่วนประสานงานผู้ใช้แบบกราฟฟิก หรือ วิธีการใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านทางสัญลักษณ์หรือภาพนอกเหนือจากตัวอักษร ทำให้แอ๊ปเปิลประสบความสำเร็จทางการค้าอย่างมาก
แต่ในขณะที่จ็อบส์กลายเป็นผู้มีบุคลิกโดดเด่น และมีส่วนผลักดันโครงการต่าง ๆ ของแอปเปิลเขาก็ถูกนักวิจารณ์ กลับมองว่า เขาเป็นคนที่มีบุคลิกแปลกแยกและโมโหร้าย หลังเกิดปัญหาขัดแย้งภายใน จ็อบส์ได้ลาออกจากแอ๊ปเปิล ในปี 1985 เขาไปตั้งบริษัทใหม่ชื่อว่า เน็กซ์ (NeXT) ออกคอมพิวเตอร์ลิซ่า ด้วยเทคโนโลยีล้ำยุค แต่ไม่เข้ากระแสหลักเพราะราคาสูงลิ่วจ็อบส์เจาะกลุ่มตลาดของเน็กซ์ไปที่สาขาวิทยาศาสตร์และสถาบันการศึกษา
แต่พรหมลิขิตก็ขีดให้จ็อบส์ต้องหวนคืนไปหาแอปเปิล ที่อาจเรียกว่า เป็นลูกที่เขาเป็นผู้ให้กำเนิด เมื่อแอปเปิลเข้าซื้อกิจการของเน็กซ์ ในปี 1996 ในวงเงิน 402 ล้านดอลล่าร์ ทำให้เขากลายเป็นผู้บริหารระดับสูงชั่วคราวของแอปเปิลในปี 1997 และเขาเรียกตำแหน่งของเขาว่า" ไอซีอีโอ " การกลับมาของจ็อบส์ ทำให้เครื่องเล่นดนตรีพกพา " ไอพอด " ถือกำเนิดตามาด้วย
ซึ่งตอนนั้น แอปเปิลภายใต้การบริหารงานของจ็อบส์ ต้องการยึดหัวหาดด้านอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ส่วนบุคคล และร้านขายดนตรีออนไลน์ ด้วยแรงผลักดันด้านนวัตกรรม แต่เขามักจะเตือนพนักงานว่า " ศิลปินที่แท้จริงต้องส่งงาน " ซึ่งหมายความว่า การจัดส่งผลิตภัณฑ์ให้ตรงเวลานั้น มีความสำคัญพอ ๆ กับนวัตกรรมและการออกแบบที่โดนใจผู้ใช้
จ็อบส์ทำงานที่แอปเปิลด้วยค่าตอบแทนเพียงปีละ 1 ดอลล่าร์ ทำให้เขาถูกบันทึกไว้ในกินเนสส์ บุ๊คส์ว่า เป็นผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับค่าจ้างต่ำที่สุดในโลก และแม้ว่าจะได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร หรือ CEO อย่างเต็มตัวแล้ว เขาก็ยังรับค่าจ้างเท่าเดิม แต่เขาก็ได้รับของขวัญจากคณะผู้บริหารเพื่อเป็นการตอบแทนความสำเร็จ อันได้แก่ เครื่องบินเจ็ตส่วนตัว Gulfsteam V1 K) X/ ~7 Y: |0 T+ C5 E2 N
มูลค่า 90 ล้านดอลล่าร์ และมูลค่าหุ้นอีกจำนวนมหาศาล
จ็อบส์เป็นมังสวิรัต ที่รับประทานปลา ในปี 2004 ได้เข้ารับการผ่าตัดเอาเนื้องอกมะเร็งออกจากตับอ่อน มะเร็งตับอ่อนที่เขาเป็น เป็นแบบที่พบน้อยมาก ที่เรียกว่า เนื้องอกในเซลล์ที่ผลิตอินซูลินอันส่งผลต่อระบบประสาท ที่ควบคุมการทำงานของร่างกายและไม่ต้องใช้เคมีหรือรังสีบำบัดซึ่งก่อนที่เขาจะเสียชีวิต เขาได้ลาพักไปเป็นระยะ ๆ และภาพสุดท้ายที่หลายคนได้เห็นคือ ผู้ชายผอมโกรกคนหนึ่ง ที่กำลังยืนกล่าวเปิดตัวไอโฟน 4
ในวันที่เปิดตัว ไอโฟน โฟร์เอส เป็นวันที่ไร้เงาของสตีฟ จ็อบส์ และเป็นหน้าที่ของทิม คุก ซีอีโอคนใหม่ การจากไปของสตีฟ จ็อบส์ ได้กลายเป็นการปิดตำนานของบุคคลที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของนิคมอุตสาหกรรมมัลติมีเดีย หรือ ซิลิคอล แวลลีย์ และได้ชื่อว่าเป็นบิดาผู้ให้กำเนิดนวัตกรรมที่ครองใช้คนรุ่นใหม่ อย่าง ไอโฟน ไอพอดและไอแพด