Discuz Thai

 ลืมรหัสผ่าน
 สมัครสมาชิก

ข้อตกลงการใช้งานกระดานข่าวดิสคัสไทย DiscuzThai Agreement (English Version) ประกาศดิสคัสไทย - ทำเนียบดิสคัสภาษาไทย

Discuz! X3.5 Thai R20240520 Rev.9 (NEW) [วิดีโอช่วยสอน] อัปเกรด Discuz! X3.4 เป็น X3.5 Discord ของ Discuz! Thai Community อย่างเป็นทางการ

Discuz! X3.4 Thai R20220811 (REV.75) สิ้นสุดการสนับสนุน Discuz! X3.4 ภาษาไทยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (ขอแนะนำให้อัปเกรดเป็น X3.5 แทน)

ค้นหา
แท็กยอดนิยม: ดิสคัสภาษาไทย Discuz Thai
ดู: 2114|ตอบกลับ: 0

คำที่คนไทยมักเขียนผิด และวิบัติที่นิยมใช้กัน

[คัดลอกลิงก์]
hack-na โพสต์ 2011-11-6 14:47:07 |โหมดอ่าน
1. สำอาง

แปลว่า เครื่องแป้งหอม งามสะอาด ที่ทำให้สะอาด
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "สำอางค์" ...ควายการันต์(ค์) มาจากไหน?


2. พากย์
แปลว่า คำพูด คำกล่าวเรื่องราว ภาษา
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "พากษ์" ที่เขียนกันผิดประจำนี่ คงติดภาพมาจากคำว่า วิพากษ์(วิจารณ์)


3. เท่
แปลว่า เอียงน้อยๆ โก้เก๋
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "เท่ห์" ...ติดมาจากคำว่า "สนเท่ห์" รึไงนะ?


4.โล่
แปลว่า เครื่องปิดป้องศัตราวุธ ชื่อแพรเส้นไหมโปร่ง
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "โล่ห์" สงสัยอยู่ในกรณีเดียวกับคำว่า "เท่"


5. ผูกพัน
แปลว่า ติดพัน เอาใจใส่ รักใคร่
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "ผูกพันธ์" ไม่ใช่คำว่า "สัมพันธ์" นะเว้ย


6. ลายเซ็น
แปลว่า ลายมือชื่อ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "ลายเซ็นต์" ติดมาจาก "เปอร์เซ็นต์" รึเปล่า?


7. อีเมล
แปลว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
มักเขียนผิดเป็นคำว่า ''อีเมล์" คำนี้ผมก็เขียนผิดบ่อยๆ -*- มันติดอ่ะ


8. แก๊ง
แปลว่า กลุ่มคนที่ตั้งเป็นพวก(ในทางไม่ดี)
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "แก๊งค์" หรือไม่ก็ "แกงค์" เอ่อ...มันมาจากภาษาอังกฤษคำว่า gang นะ ควายการันต์มาจากไหน?


9. อนุญาต
แปลว่า ยินยอม ยอมให้ ตกลง
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "อนุญาต" ผิดกันเยอะจริงๆ สับสนกับคำว่า "ญาติ" รึไง?รู้สึกเหมือนเราเคยอธิบายเกี่ยวกับคำนี้มาก่อนนะในกระทู้นี้


10. สังเกต
แปลว่า กำหนดไว้ หมายไว้ ดูอย่างถ้วนถี่
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "สังเกตุ" นี่ก็ผิดเยอะพอๆกับคำว่า "อนุญาต" คงติดมาจากคำว่า "สาเหตุ" ล่ะมั้ง?


11. ออฟฟิศ
แปลว่าสำนักงาน ที่ทำการ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "ออฟฟิส" ไม่ก็ "ออฟฟิต" คำนี้มาจากภาษาอังกฤษคำว่า "office" แต่พอมาเป็นภาษาไทยอุตส่าห์ใช้ตัวอักษร "ศ" ให้เท่ๆแล้วเชียว แต่ทำไมกลับสู่สามัญเป็น "ส" ล่ะ หรือไม่ก็เอาคำว่า "ฟิตเนส" มาปนมั่วไปหมด


12. อุตส่าห์
แปลว่า บากบั่น ขยัน อดทน
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "อุดส่า" คำนี้พบไม่บ่อยมากนัก แต่บางคนสะกดด้วย ต เต่า ถูกแล้วแต่ลืมใส่ บการันต์(ห์)


13. โคตร
แปลว่า วงศ์สกุล เผ่าพันธุ์ ต้นตระกูล
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "โครต" คำยอดฮิตของวัยรุ่น ไม่รู้เพราะสับสนกับคำว่า "เปรต" หรือเพราะในเกมออนไลน์บางเกมมันเซ็นเซอร์คำนี้ก็ไม่รู้ เลยดัดแปลงคำซะเลยจะได้พิมพ์ได้ แล้วก็ติดตามาเป็น "โครต" ในปัจจุบัน


14. ค่ะ
แปลว่า คำรับที่ผู้หญิงใช้
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "คะ" คำนี้ไม่ได้เขียนผิดอะไรหรอก แต่ใช้เสียงสูงเสียงต่ำผิด ถ้าจะพูดให้เสียงยาวก็เป็น "คะ" ใช้ต่อท้ายประโยคคำถาม แต่บางทีก็ใช้ "ค่ะ" ยัดลงไปเลย


15. เว็บไซต์
แปลว่า (ไม่รู้อ่ะ แต่มาจากภาษาอังกฤษคำว่า "web" แปลว่า ใยแมงมุม ตาข่าย และ "site" แปลว่า กำหนดสถานที่ตั้ง ตั้งอยู่)
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "เวปไซด์" คำว่า "เวป" อาจติดมาจาก "WAP" ซึ่งแปลว่าอะไรผมก็ไม่รู้ -*- แต่คำว่า "ไซด์" ที่เขียนผิดอาจมาจากคำว่า "side" ที่แปลว่า ด้านข้าง เห็นด้วย (เกี่ยวอะไรกัน?)


16.โอกาส
แปลว่า ช่อง จังหวะ เวลาที่เหมาะ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "โอกาศ" สงสัยติดมาจากคำว่า "อากาศ"


17.เกม
แปลว่า การแข่งขันการละเล่นเพื่อนความสนุก ลักษณะนามเรียกการแข่งขันจบลงคราวหนึ่งๆ
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "เกมส์"อันนี้เราไม่แน่ใจนะ แต่ถ้าจะให้มีความหมายในภาษาไทยต้องใช้ "เกม" เพราะมันมาจากคำว่า "game" ในภาษาอังกฤษ


18.ไหม
แปลว่า ชื่อแมลงชนิดหนึ่งมีใยใช้ทอผ้า เป็นคำถาม
มักเขียนผิดเป็นคำว่า "มั้ย" ที่เปลี่ยนไปอาจเป็นเพราะเพื่อให้เสียงสูงขึ้น เพราะถ้าใช้คำว่า ไม้ มันจะกลายเป็นอีกคำถ้าใช้ ไม๊ นี่อ่านไม่ออกเลย -*-


สุดท้ายนี้
การเขียนภาษาไทยผิดๆ ถือเป็นคนละประเด็นกับการ(ตั้งใจ?)ใช้ภาษาไทยแบบวิบัติๆ นะครับ เพราะการเขียนคำผิดนี่เกิดจากความเข้าใจผิด หรือรับรู้มาผิดๆ เท่านั้นเอง แก้ไขได้ไม่ยาก โดยวิธีแก้ก็แค่หัดเขียนบ่อยๆ ให้มันถูก เดี๋ยวก็หายครับ ส่วนการแก้อาการภาษาวิบัติ อันนี้ให้ไปแก้ที่ "สันดาน" นะ



**คำเตือน**
บทความเรื่องนี้ได้ถูกใช้กระกอบการเรียนการสอนลูกลิงอุรังอุตังอายุสามเดือน มนุษย์ปุถุชนโปรดพิจารณาอย่างรอบคอบเมื่ออ่านและควรนำไปใช้ได้ดีกว่าลิง  

เรื่องของภาษาวิบัตินั้นถูกนำมาถกเถียงในหมู่นักภาษาศาสตร์มากมาย ทั้งการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้กันโดยไม่ผ่านราชบัณฑิตยสถาน รวมถึงการให้กำเนิดภาษาสื่อสารแนวใหม่ที่เรียกกันว่า "Emotical" ภาษาวิบัตินั้น จะเรียกได้ว่าเป็นพัฒนาการของภาษาจริงหรือ? นับเป็นเรื่องที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในการสำรวจโดยรวมแล้วนั้น ภาษาวิบัติที่ผิดเพี้ยนจากหลักภาษาไทยที่ถูกต้อง ถูกนำมาใช้ในวงกว้างขึ้น และเฉลี่ยอายุของผู้ใช้ภาษาวิบัติก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ พูดง่ายๆก็คือ คนที่มีดีกรีปริญญาตรี หรือเรียนในระดับอุดมศึกษานั้น ใช้ภาษาไทยคำง่ายๆแบบผิดๆกันมากขึ้น ไม่ได้จำกัดอยู่ในวงของเด็กอีกต่อไป จากการสำรวจขององค์กรนาซ่าและกูเก้ง ทางเราได้พบว่าคำที่ใช้ผิดอยู่บ่อยๆ อาทิเช่น

"อารัย" =อะไร ไม่ใช่ อาลัย
"ที่นั้น" =ที่นั่น เป็นการผันวรรณยุกต์ที่ผิด
"นะค่ะ" =นะคะ ผันวรรณยุกต์ผิดเช่นกัน
"คับผม" =ครับผม อาจเกิดจากการรีบพิมพ์ ขอให้ออกเสียงได้เป็นพอ
"หรอ" =เหรอ ไม่ใช่ หรอจาก "ร่อยหรอ"
"แร้ว" =แล้ว ไม่ใช่ "แร้ว" ที่แปลว่ากับดักนก
"งัย" =ไง
"ครัย" =ใคร
"เกมส์" =เกม ไม่ต้องเติม ส์
"เดล" =เป็นคำภาษาอังกฤษจากคำว่า "Deal" อ่านว่า "ดีล"
"สาด" =สัตว์ เป็นศัพท์วัยรุ่น ลากเสียงให้ยาวขึ้นเพื่อเลี่ยงระบบกรองคำหยาบ
"กวย" =เช่นเดียวกับคำด้านบน เปลี่ยนพยัญชนะเพื่อเลี่ยงระบบ
"ไฟใหม้" =ไฟไหม้
"หวัดดี" =สวัสดี ไม่ใช่ การเป็นหวัดเป็นเรื่องที่ดี
"สำคัน" =สำคัญ บางทีอาจจำสลับกับ "สังคัง" ที่เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง
"หน้ารัก" =น่ารัก ไม่ใช่ รักเพราะหน้า
"ฆ้อน" =ค้อน ผู้ใช้อาจสับสนกับ "ฆ้อง" ที่เป็นเครื่องดนตรี
"สัสดี" =ทหารยศหนึ่ง เข้าใจว่าพิมพ์ผิดจากคำว่า "สวัสดี"
"555" =เสียงหัวเราะ มาจาก"ฮ่าๆๆ" ดัดแปลงมาเป็น"ห้าห้าห้า"

เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของการใช้คำไม่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย ซึ่งสาบานได้ ให้ตายเถอะ... ผมเคยเห็นคนเขียนคำเหล่านี้ลงในวิทยานิพนธ์ปริญญาโท และเป็นที่น่าเป็นห่วงว่า คำเหล่านี้ได้ถูกนนำมาใช้ในแวดวงวรรณกรรม นับเป็นฝันร้ายของวงการน้ำหมึกอย่างแท้จริง Emotical คือพัฒนาการจริงหรือ? เป็นประเด็นที่ต้องถกเถียงกันอย่างจริงจังในวงวรรณกรรมไทย กับภาษาสื่อสารยุคใหม่ที่เรียกกันว่า "Emotical" ต้นกำเนิดของมัน มาจากสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงอารมณ์แทนผู้พูด สามารถหาได้ตามเวปบอร์ด แชทรูม และเอมเอสเอ็น ตัวอย่างเช่น

:  ) =ยิ้ม
: D =ยิ้มอ้าปากกว้าง
X D =ยิ้มดีใจสุดๆ
;  ) =ยิ้มขยิบตา
- _ - =ทำหน้าตาเบื่อโลก
- _ - ; =ทำหน้าตาเบื่อโลกและเหงื่อตก
- _ - ; ,,|,, =ทำหน้าตาเบื่อโลก เหงื่อตกและชูนิ้วกลาง
O T L =ลงไปนั่งคุกเข่าอย่างท้อแท้
o r z =เหมือนข้างบน แต่ตัวจะเล็กกว่า
/ gg =giggle หรือหัวเราะขำขัน
o l o =อวัยวะเพศชาย
[ ๐ ๐ ]=C =เมก้าซาวะ

เหล่านั้นคือตัวอย่างของภาษา Emotical ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยของวัยรุ่น เราสามารถพบเห็นมันได้ในฟอร์เวิร์ด เกมออนไลน์ แมสเสจมือถือ หรือแม้กระทั่งวรรณกรรมที่ขายตามร้านหนังสือ ปัจจุบันนั้นยังคงมีการถกเถียงและยอมรับภาษา Emoticalกันอยู่ ว่าสมควรแล้วหรือยังที่จะนำมาใช้ในวรรณกรรมให้คนทั่วไปอ่าน ถ้าหากมองในแง่ของวัฒนธรรมแล้ว Emotical ก็นับเป็นมิติใหม่ของภาษาที่ถูกใช้ไปทั่วโลก หากจะว่ากันตามจริงแล้วมันถือเป็นวัฒนธรรมของโลกยุคใหม่เลยทีเดียว แต่หากมองในแง่ของความผิดเพี้ยนแล้วนั้น ก็ย่อมเป็นเรื่องใหญ่ที่สั่นคลอนรากฐานภาษาดั้งเดิมของประเทศ ภาษา เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงออกถึงความเป็นเอกราชของประเทศนั้นๆ หากการรับเอาภาษาอื่นมาใช้งานนั้นทำให้คนขาดจิตสำนึกในภาษาแม่แล้ว มันอาจจะกลายเป็นความหายนะของภาษาในเร็ววันดั่งหลักการ "เปลี่ยนแปลงแต่ไม่เปลี่ยนไป" การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องแย่ แต่การเปลี่ยนไป เป็นเรื่องที่น่ากลัว ภาษาไทยไม่ใช่ภาษาที่ตายแล้ว หากแต่เป็นภาษาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้สวยงามได้เสมอ หากการรับนำข้อดีของ Emotical มาใช้ให้ถูกที่ถูกกาลเป็นเรื่องที่สมควร การใช้ภาษาให้ถูกต้องตามหลักภาษาก็ย่อมเป็นเรื่องที่ต้องกระทำตั้งแต่ตอนนี้

คะแนน

จำนวนผู้เข้าร่วม 1จิตพิศัย +1 ย่อ เหตุผล
ฅนไทย + 1 เนื้อหาดีมีสาระ.

ดูบันทึกคะแนน

รายชื่อผู้กระทำผิด|Archiver|ดิสคัส ไทย Follow us: Become a fan on facebook. Follow us on Twitter.

GMT+7, 2024-12-22 23:34

Powered by Discuz! X3.4, Rev.66

Copyright © 2001-2021 Tencent Cloud. Licensed

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้